วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554

นิเทศศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์

นิเทศศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ .


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เปิดสอนวิชาการหนังสือพิมพ์ขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2482 ซึ่งเป็นหลักสูตรในระดับอนุปริญญา สังกัดในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2497 ได้มีการโอนการศึกษาวิชาการหนังสือพิมพ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปทำการสอนที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง โดยได้เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ซึ่งเป็นการสิ้นสุดการสอนในสาขานิเทศศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่นั้นมา[1]
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชานิเทศศาสตร์อีกครั้งในแผนกสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ สังกัดอยู่กับคณะรัฐศาสตร์ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ดังนั้น จึงถือเอาวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาคณะนิเทศศาสตร์ หลักจากนั้น ในปี พ.ศ. 2509 ได้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง "แผนกสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์" ซึ่งเป็นแผนกอิสระ มีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีสีน้ำเงิน (Royal Blue) เป็นสีประจำแผนกอิสระฯ และมีสัญลักษณ์เป็นแตรสังข์ ต่อมาจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "คณะนิเทศศาสตร์" เมื่อปี พ.ศ. 2517 นับเป็นคณะที่ 14 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศ.บำรุงสุข สีหอำไพ เป็นคณบดีคนแรก
ปัจจุบันคณะนิเทศศาสตร์ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของถนนพญาไท (ตรงข้ามกับคณะวิทยาศาสตร์) ในพื้นที่บริเวณเดียวกับคณะนิติศาสตร์ โดยมีอาคารทำการของคณะฯ 3 อาคาร คือ อาคารนิเทศศาสตร์ 1 อาคารนิเทศศาสตร์ 2 และอาคารมงกุฎสมมติวงศ์ ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง เป็นอาคารสูง 12 ชั้น เพรียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์ทางการสื่อสารมวลชนที่ทันสมัย คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีการศึกษา 2553 และอาคารพินิตประชานาถซึ่งเป็นอาคารเรียนส่วนกลางของมหาวิทยาลัยซึ่งใช้ร่วมกับ คณะนิติศาสตร์





.
.
.
Life Insurance Knowledge:Life Insurance , private, death, employee pensions and annuities,life insurance, educational, life insurance companies

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Search for content in this blog.