วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การกำหนดโครงสร้างเวลาเรียน กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี

การกำหนดโครงสร้างเวลาเรียน
กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ม.1
ม.2
ม.3 ม.1 ม.2 ม.3
ภาคเรียนที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ภาคเรียนที่ 2
การงานอาชีพและเทคโนโลยี 80
(2 นก) 80
(2 นก) 80
(2 นก)
40
40
40
40
40
40
รวมเวลาเรียน 240 240


กำหนดโครงสร้างหลักสูตร
กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
วิชาแกนกลาง
ชั้น รหัสวิชา ชื่อวิชา ชั่วโมง/สัปดาห์ หน่วยกิต

ม.1 ง21101 การงานพื้นฐานอาชีพ 2 ชั่วโมง / สัปดาห์ / ภาคเรียน 1
ง21102 การงานพื้นฐานอาชีพ 2 ชั่วโมง / สัปดาห์ / ภาคเรียน 1

ม.2 ง22101 การงานพื้นฐานอาชีพ 2 ชั่วโมง / สัปดาห์ / ภาคเรียน 1
ง22102 การงานพื้นฐานอาชีพ 2 ชั่วโมง / สัปดาห์ / ภาคเรียน 1

ม.3 ง23101 การงานพื้นฐานอาชีพ 2 ชั่วโมง / สัปดาห์ / ภาคเรียน 1
ง23102 การงานพื้นฐานอาชีพ 2 ชั่วโมง / สัปดาห์ / ภาคเรียน 1







คำอธิบายรายวิชา
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

รหัสวิชา ง21101 : การงานพื้นฐานอาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้น ม.1 จำนวน 40 ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน 1 หน่วยกิต
……………………………………………………………………………………………………………………
ศึกษาค้นคว้า อธิบาย หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ บทบาทของคอมพิวเตอร์ในการช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ บอกประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ในการทำงาน ศึกษา อภิปราย ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านต่างๆ ศึกษาเกี่ยวกับความหมาย และการประมวลผลข้อมูล และสารสนเทศ ประเภท วิธีการประมวลผลข้อมูล และขั้นตอนการจัดการสารสนเทศ
วิเคราะห์หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ปฏิบัติตามขั้นตอนการจัดการสารสนเทศ โดยใช้กระบวนการสืบค้นข้อมูล และการแก้ปัญหา
เพื่อให้เกิด ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ เจตคติ เห็นสำคัญ และประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ ตระหนักถึงผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านต่างๆ และมีความมุ่งมั่นในการทำงาน

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ง.3.1 ม.1/1 ม.1/2 ม.1/3

รหัสวิชา ง21102 : การงานพื้นฐานอาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้น ม.1 จำนวน 40 ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน 1 หน่วยกิต
………………………………………………………………………………………………………………….
ศึกษาความหมายความสำคัญเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว อธิบายวิธีการ ขั้นตอนกระบวนการทำงาน การจัดการงานบ้าน งานเกษตร งานช่าง งานประดิษฐ์ และแนวทางการเลือกอาชีพในอนาคต
วิเคราะห์ ขั้นตอน กระบวนการทำงานเลือกใช้ เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ อย่างสร้างสรรค์ และเหมาะสมกับงานโดยคำนึงถึง ความคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสังคม ลงมือผลิตชิ้นงานตามขั้นตอน กระบวนการทำงานโดยใช้กระบวนการกลุ่ม นำเสนอผลงาน และแนวทางการประกอบอาชีพได้อย่างสร้างสรรค์
เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ เจตคติ ที่ดีต่อการประกอบอาชีพ เห็นความสำคัญของการสร้างอาชีพ ทำงานด้วยความเสียสละ และการแก้ปัญหา อย่างมีเหตุผล

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ง 1.1 ม.1/1,ม1/2,ม1/3 ง 4.1 ม.1/1, ม1/2, ม1/3
รหัสวิชา ง 22101: การงานพื้นฐานอาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน 1 หน่วยกิต

ศึกษา วิเคราะห์ สำรวจ และแสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนาการทำงาน โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน ทักษะการแสวงหาความรู้
ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ การจัดประสบการณ์อาชีพ การเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพ และมีทักษะที่จำเป็นต่องานอาชีพ
ฝึกปฏิบัติทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ ด้วยทักษะกระบวนการทำงาน การแก้ปัญหา การทำงานร่วมกัน ตลอดจนการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
มีคุณธรรม มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ มีจิตสำนึกในการใช้พลังงานทัพยากร และสิ่งแวดล้อมอย่างประหยัดและคุ่มค่า เพื่อการดำรงชีวิต และครอบครัว ในการประกอบอาชีพ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะในการดำรงชีวิต ครอบครัว และการทำงาน สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ง 1.1 ม 2/1, ง 1.1 ม 2/2, ง 1.1 ม 2/3, ง 4.1 ม 2/1, ง 4.1 ม 2/2, ง 4.1 ม 2/3

รหัสวิชา ง 22102: การงานพื้นฐานอาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน 1 หน่วยกิต

ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ และอธิบายกระบวนการเทคโนโลยีและการสร้างสิงของเครื่องใช้ตาม กระบวนการเทคโนโลยี อย่างปลอดภัย ออกแบบโดยถ่ายทอดความคิดเป็นภาพร่าง 3 มิติ หรือภาพฉาย เพื่อนำไปสู่การสร้างต้นแบบของสิ่งของเครื่องใช้ หรือถ่ายทอดความคิดของวิธีการเป็นแบบจำลองความคิดและการรายงานผล เพื่อนำเสนอวิธีการ มีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการในงานที่ผลิตเอง เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และมีการจัดการเทคโนโลยีด้วยการลดการใช้ทรัพยากรหรือเลือกใช้เทคโนโลยีด้วยการลดการใช้ทรัพยากร หรือเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม และกระบวนการแก้ปัญหา
ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ และอธิบายหลักการเบื้องต้นของการสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อธิบายหลักการ และวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ ค้นหาข้อมูลและติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อย่างมีคุณธรรม และจริยธรรม ใช้ซอฟต์แวร์ในการทำงาน ด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม และกระบวนการแก้ปัญหา
มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ง 2.1 ม 2/1, ง 2.1 ม 2/2, ง 2.1 ม 2/3, ง2.1 ม 2/4, ง 3.1 ม 2/1, ง 3.1 ม 2/2, ง 3.1 ม 2/3, ง 3.1 ม 2/4
รหัสวิชา ง23101 : การงานพื้นฐานอาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 40 ชั่วโมง / ภาคเรียน จำนวน 1 หน่วยกิต

ศึกษา วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปขั้นตอนการทำงาน การซัก ตาก พับ เก็บ เสื้อผ้าที่ต้องการ การดูแลอย่างประณีต การสร้างชิ้นงานหรือผลงาน การทำงานร่วมกันในการเตรียม ประกอบ อาหารประเภทสำรับ การประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ การจัดการในด้านธุรกิจประเภทต่างๆ การขยายพันธุ์พืช การติดตั้ง/ประกอบผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้าน โดยใช้วิธีการทางงานเย็บ ปัก ถัก จักสาน และงานปลูกพืชในท้องถิ่น
ศึกษา วิเคราะห์ และอธิบายระดับของเทคโนโลยี แบ่งตามระดับความรู้ที่ใช้เป็น 3 ระดับ คือ ระดับพื้นบ้านหรือพื้นฐานระดับกลาง และระดับสูง การสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการตามกระบวนการเทคโนโลยี จะทำให้ผู้เรียนทำงานอย่างเป็นระบบ สามารถย้อนกลับมาแก้ไขได้ง่าย ภาพฉาย เป็นภาพแสดงรายละเอียดของชิ้นงาน ประกอบด้วยภาพด้านหน้า ด้านข้าง ด้านบน แลดงขนาดและหน่วยวัด เพื่อนำไปสร้างชิ้นงาน
ใช้กระบวนการสืบค้น กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการพัฒนาค่านิยม กระบวนการทำงานเกลุ่ม และกระบวนการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิด ความรู้ ความเข้าใจ ความคิด การใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างประหยัด ใช้ทักษะในการทำงานร่วมกันอย่างมีคุณธรรม และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกันอย่างมีความสุข

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ง 1.1 ม 3/1, ง 1.1 ม 3/2, ง 1.1 ม3/3, ง 2.1 ม 3/1, ง 2.1 ม 3/2


รหัสวิชา ง23102 : การงานพื้นฐานอาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 40 ชั่วโมง / ภาคเรียน จำนวน 1 หน่วยกิต

ศึกษา วิเคราะห์ อภิปราย สรุปพร้อมนำเสนอเกี่ยวกับหลักการทำโครงงาน เป็นการพัฒนาผลงานที่เกิดจากการศึกษา ค้นคว้า ดำเนินการพัฒนาตามความสนใจ และความถนัด โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หลักการพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม แนวคิดและหลักการโปรแกรม โครงสร้างโปรแกรม ตัวแปร การลำดับคำสั่ง การตรวจสอบเงื่อนไข การควบคุมโปรแกรม คำสั่งแสดงผล และรับข้อมูล การเขียนโปรแกรม แบบง่ายๆ การเขียนสคริปต์ เช่น จาวาสคริปต์ แฟลช การเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมกับลักษณะของงาน การใช้ซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ดิจิทัลมาช่วยในการนำเสนองาน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างงานตามหลักการทำโครงงาน โดยมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูล ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น ใช้คำสุภาพ และไม่สร้างความเสียหายต่อผู้อื่น
ศึกษา วิเคราะห์ อภิปราย สรุป การหางานหรือตำแหน่งที่ว่างจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แนวทางเข้าสู่อาชีพตามคุณสมบัติที่จำเป็น ความมั่นคง และการประเมินทางเลือก การประเมินทางเลือกอาชีพตามหลักแนวทางการประเมิน รูปแบบการประเมิน และเกณฑ์การประเมิน
ใช้กระบวนการสืบค้น กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการพัฒนาค่านิยม กระบวนการทำงานเกลุ่ม และกระบวนการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ความคิด จนสามารถสร้างชิ้นงานจากจินตนาการ หรืองานที่ทำในชีวิตประจำวัน ตามหลักการทำโครงงานที่หลากหลายจนสามารถ วิเคราะห์ ประเมิน ทางเลือกในการประกอบอาชีพของตนเอง โดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ง 3.1 ม 3/1, ง 3.1 ม 3/2, ง 3.1 ม3/3, ง 3.1 ม 3/4, ง4.1 ม 3/1, ง 4.1 ม 3/2, ง 4.1 ม 3/3





















การกำหนดโครงสร้างเวลาเรียน
กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย


กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ม.4
ม.5
ม.6 ม.1 ม.2 ม.3
ภาคเรียนที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ภาคเรียนที่ 2
การงานอาชีพและเทคโนโลยี 40
(1 นก) 40
(1 นก) 40
(1 นก)
20
20
20
20
20
20
รวมเวลาเรียน 120 120




กำหนดโครงสร้างหลักสูตร
กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
วิชาแกนกลาง
ชั้น รหัสวิชา ชื่อวิชา ชั่วโมง/สัปดาห์ หน่วยกิต

ม.4 ง31101 เทคโนโลยีสารสนเทศฯ 1 ชั่วโมง / สัปดาห์ / ภาคเรียน 0.5
ง31102 ทักษะการดำรงชีวิต 1 ชั่วโมง / สัปดาห์ / ภาคเรียน 0.5

ม.5 ง32101 พื้นฐานการเขียนโปรแกรม 1 ชั่วโมง / สัปดาห์ / ภาคเรียน 0.5
ง32102 การออกแบบเทคโนโลยี 1 ชั่วโมง / สัปดาห์ / ภาคเรียน 0.5

ม.6 ง33101 โครงงานคอมพิวเตอร์ 1 ชั่วโมง / สัปดาห์ / ภาคเรียน 0.5
ง33102 การงานอาชีพ 1 ชั่วโมง / สัปดาห์ / ภาคเรียน 0.5




คำอธิบายรายวิชา
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

รหัสวิชา ง31101 : เทคโนโลยีสารสนเทศ ฯ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 ชั่วโมง / ภาคเรียน จำนวน 0.5 หน่วยกิต
…………………………………………………………………………………………………………………….
ศึกษาข้อมูล สารสนเทศ หลักการและวิธีการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ซอฟแวร์ในการจัดการข้อมูล การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ การตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลและสารสนเทศ เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบและการทำงานของระบบคอมคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูล การใช้บริการอินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาและสืบค้นข้อมูล
ปฏิบัติการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการจัดการรวบรวมข้อมูล ประมวลผลหรือสร้างงานนำเสนอตามจินตนาการหรือประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันแล้วนำเสนออย่างเหมาะสม
เพื่อให้เป็นผู้ที่ใช้สารสนเทศตามข้อควรปฏิบัติ อย่างมีความรับผิดชอบ มีมารยาท อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเองและสังคม

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ง 3.1 ม.4-6/1,2,3,4,5,8,9,10,11,13


รหัสวิชา ง31102 : ทักษะการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 ชั่วโมง / ภาคเรียน จำนวน 0.5 หน่วยกิต
...........................................................................................................................................................
ศึกษาวิธีการทำงานเพื่อการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการทำงานที่จำเป็นเกี่ยวกับความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน สามารถสร้างผลงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ โดยมีการนำทักษะกระบวนการเหล่านี้มาใช้ในการทำงาน ได้แก่ ทักษะการทำงานร่วมกัน ทักษะการจัดการทำงาน ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน รวมทั้งทักษะในการแสวงหาความรู้เพื่อการดำรงชีวิต
เพื่อให้เกิดลักษณะนิสัยในการทำงาน มีคุณธรรม ใช้พลังงาน ทรัพยากร ในการทำงานอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ง 1.1 ม.4-6/1,2,3,4,5,6,7

รหัสวิชา ง32101 : พื้นฐานการเขียนโปรแกรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 20 ชั่วโมง / ภาคเรียน จำนวน 0.5 หน่วยกิต
............................................................................................................................................................................
ศึกษาความรู้เกี่ยวกับ ประเภทของภาษาคอมพิวเตอร์ ข้อดีและข้อด้อยของภาษาคอมพิวเตอร์แต่ละประเภท การวิเคราะห์ปัญหา การออกแบบโปรแกรม การเขียนโปรแกรม การทดสอบโปรแกรม และการจัดทำเอกสารประกอบ โดยใช้การสืบค้นข้อมูล การอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ
ปฏิบัติการพัฒนาโปรแกรมตามขั้นตอน 5 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ปัญหา การออกแบบโปรแกรม การเขียนโปรแกรม การทดสอบโปรแกรม และการจัดทำเอกสารประกอบ ในภาษาใดภาษาหนึ่งกับเครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อสร้างงานอย่างมีความรับผิดชอบ ขยันหมั่นเพียร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ นำความรู้และทักษะจากการปฏิบัติไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ง 3.1 ม.4-6/6

รหัสวิชา ง 32102 : การออกแบบและเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 20 ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน 0.5 หน่วยกิต
........................................................................................................................................................................................................
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น ๆ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยี วิเคราะห์ระบบเทคโนโลยี การสร้างและพัฒนาสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการตามกระบวนการเทคโนโลยี การใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการการออกแบบหรือนำเสนอผลงาน หลักการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เบื้องต้น ภาพฉายแสดงรายละเอียดของชิ้นงาน ลักษณะของความคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ผลดี ผลเสีย การประเมิน การตัดสินใจเพื่อเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และการเลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้อย่างสร้างสรรค์
ปฏิบัติการสร้าง และพัฒนาสิ่งของเครื่องใช้ หรือวิธีการตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย มีความคิดสร้างสรรค์ การถ่ายทอดความคิดเป็นภาพฉาย และแบบจำลอง การใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบหรือนำเสนอผลงาน ในการช่วยร่างภาพ ทำภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ โดยคำนึงถึงหลักการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เบื้องต้น
เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการวิเคราะห์ ออกแบบ การสร้าง พัฒนาและเลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้ตามกระบวนการเทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการจัดการเทคโนโลยีที่ยั่งยืนได้

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ง 2.1 ม.4-6/1,2,3 ,4,5
รหัสวิชา ง 33101 โครงงานคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 20 ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน 0.5 หน่วยกิต
................................................................................................................................................................................
ศึกษา วิเคราะห์ อภิปราย สรุป เกี่ยวกับความหมาย ประเภท คุณค่าโครงงานคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานหรือโครงงานตามหลักการทำโครงงาน ผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากงานที่สร้างขึ้น เพื่อหาแนวทางปรับปรุงและพัฒนา
ฝึกปฏิบัติทำโครงงานคอมพิวเตอร์ตามหลักการทำโครงงาน โดยใช้ความรู้ ความคิด จินตนาการ ทักษะ เหตุผล และกระบวนการต่างๆ ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนประสบการณ์ด้านคอมพิวเตอร์ โดยมีการ บูรณาการความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ หรือความรู้ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมในการพัฒนาโดยใช้กระบวนการเทคโนโลยี การบวนการสืบค้น กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการคิดวิเคราะห์
เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำเอาคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในการสร้างโครงงานได้อย่างมีจิตสำนึกและมีความรับผิดชอบ
มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ง 3.1 ม.4-6/ 7,12


รหัสวิชา ง 33102 : การงานอาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 20 ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน 0.5 หน่วยกิต
.................................................................................................................................................................................
ศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพ ที่มีอยู่ในประเทศ และอาชีพต่างๆ ที่มีอยู่ในโลก เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการเลือกงาน
วิเคราะห์ อภิปราย จำแนก จัดกลุ่ม เปรียบเทียบ สังเคราะห์ ประเมินค่า สรุป และนำข้อมูล มาเป็นส่วนประกอบเป็นแนวทางสู่อาชีพ ประเมินทางเลือกอาชีพ เป็นการรู้จักตนเองด้านความรู้ ความสามารถ ทัศนคติ ศักยภาพ วิสัยทัศน์ แนวโน้มที่เหมาะสมกับความสนใจ ความถนัด และทักษะทางด้านอาชีพ โดยศึกษาข้อมูลในเรื่อง แนวโน้มด้านอาชีพที่ต้องการของตลาดแรงงาน การเตรียมตัวหางานและสมัครงาน การพัฒนาบุคลิกภาพเข้าสู่งาน ลักษณะความมั่นคงและความก้าวหน้าของอาชีพต่างๆ วิธีการสมัครงาน การเตรียมตัวในการสัมภาษณ์ ลักษณะการทำงาน เช่น เวลาที่เข้าทำงาน สถานที่ทำงาน การเตรียมตัวในการเปลี่ยนอาชีพ
เลือก และใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมกับอาชีพ สามารถประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับงาน โดยมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้อย่างถูกวิธี ใช้โดยมีหลักการ และมีความสมเหตุสมผลในการใช้ โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบและเจตคติที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ฝึกปฏิบัติ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ในอาชีพที่ถนัดและสนใจ โดยสามารถจำลองอาชีพ เช่น การจัดนิทรรศการ และ เข้าร่วมกิจกรรมอาชีพ
ผู้เรียน มีคุณธรรม จริยธรรม เจตคติ ค่านิยม และลักษณะนิสัยในการทำงาน ประกอบด้วย ความซื่อสัตย์ เสียสละ ยุติธรรม ประหยัด ขยัน อดทน รับผิดชอบ ตรงเวลา รอบคอบ ปลอดภัย คุ้มค่า ยั่งยืน สะอาด ประณีต มีเหตุผล มีมารยาท ช่วยเหลือตนเอง ทำงานบรรลุเป้าหมาย ทำงานถูกวิธี ทำงานเป็นขั้นตอน ทำงานเป็นระบบ มีความคิดสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพ รักษาสิ่งแวดล้อม และเห็นคุณค่าของอาชีพสุจริตฯลฯ
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ง 1.1 ม.4-6/ 1,2,3,4,5,6,7
ง 2.1 ม.4-6/ 1,2,3,4

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

จุดศูนย์ถ่วง (Center of Gravity : CG)

หากสังเกตวัตถุต่าง ๆ ที่เป็นของแข็งและมีรูปทรง การวางวัตถุบนพื้นระนาบจะมีลักษณะสมดลย์ได้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและแนวของจุดศูนย์ถ่วง

จุดศูนย์ถ่วง คือจุดที่เหมือนตำแหน่งที่รวมของน้ำหนักของวัตถุทั้งก้อน

ตุ๊กตาล้มลุกมีตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงต่ำ การโยกตุ๊กตาจึงไม่ล้มและจะกลับมาตั้งตามเดิ

วัตถุในรูป A วางอยู่ในลักษณะสมดุลย์ เพราะแนวของ CG ที่ตั้งดิ่งลงสู่พื้นโลก อยู่ในกรอบฐาน ถ้าโยกวัตถุรูป A ให้อยู่ในตำแหน่ง B มีแนวของจุดศูนย์ถ่วง CG ยังอยู่ในฐาน วัตถุจะกลับมาตำแหน่งเดิมตามรูป A ถ้าโยกวัตถุรูป A ให้อยู่ในตำแหน่ง C มีแนวจุดศูนย์ถ่วง CG เลยออกจากฐานวัตถุจะล้ม

ในโมบายที่จัดวางในแนวระนาบได้ เพราะตำแหน่งของ CG รวมของวัตถุทั้งหมดอยู่ในตำแหน่งของเส้นเชือกในแนวดิ่ง

การผูกเชือกกับวัตถุและปล่อยวัตถุห้อยลง แนวของ CG ของวัตถุจะอยู่สมดุลย์ได้ในแนวระดับตรงกับเชือกในแนวดิ่ง

สรุปได้ว่าวัตถุรูปร่างใดก็ตาม ถ้าแขวนแล้ววัตถุหยุดนิ่งสมดุลย์ของวัตถุนั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องให้แนว CG อยู่ในแนวเดียวกับเชือก

จุดศูนย์กลางมวล (Center of Mass : CM)

เป็นจุดที่เสมือนเป็นที่รวมมวลของวัตถุทั้งก้อนนั้น โดยที่ CM อาจอยู่นอกเนื้อวัตถุนั้นได้ เช่น รูปโดนั

โดยปกติวัตถุบางชนิดมีมวลภายในหนาแน่นไม่เท่ากันตลอดทั้งเนื้อสาร CM จึงเป็นเสมือนที่เป็นจุดรวมมวลของวัตถุทั้งก้อน

ถ้าหากใช้แรงกระทำต่อวัตถุ โดยให้แนวตรงผ่านจุด CM จะทำให้วัตถุนั้นไม่หมุน แต่ถ้าหากแรงที่กระทำไม่ผ่าน CM วัตถุจะหมุนในทิศทางตามแรงนั้น

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รายวิชา ว40101 ฟิสิกส์1 : กลศาสตร์ 1

รายวิชา ว40101 ฟิสิกส์1 : กลศาสตร์ 1
เอกสารประกอบการสอน
PowerPoint Slide
แบบฝึกหัด (ให้นักเรียนส่งหลังจากเรียนจบแต่ละบทแล้วภายใน 1 สัปดาห์)

วิธีเรียนฟิสิกส์ให้เข้าใจ

หลักการนี้สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนักฟิสิกส์ที่เก่ง
ซึ่งนักฟิสิกส์ที่เก่งส่วนใหญ่ก็ทำเช่นนี้
สำหรับการเรียนเนื้อหาทฤษฏี
สิ่งที่ควรรู้และต้องเข้าใจ
1.คณิตศาสตร์ที่จำเป็นต้องใช้
แต่คณิตศาสตร์บางเรื่องที่คิดว่าไม่ได้ใชก็อาจ
ต้องใช้ในบางครั้งดังนั้นควรต้องรู้คร่าวๆไว้บ้าง(
รู้ให้มากที่สุด)
ควรรู้ว่าคณิตศาสตร์แต่ละเรื่องเหมาะที่จะ
แก้ปัญหาแบบใดและใช้
คณิตศาสตร์อย่างรอบคอบ ไม่ให้
ผิดหลักทางคณิตศาสตร์
2.ฝึกฝนตัวเองให้เป็น
คนช่างคิดช่างสังเกตมองภาพทางฟิสิกส์ให้
ออกก่อนแล้วจึงเลือกใช้
คณิตศาสตร์ที่เหมาะสมเพื่อแก้ปํญหาและให้
มองภาพรวมๆอย่ามองเพียงจุดใดจุดหนึ่ง
เช่นการเรียนเรื่องการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิกคิด
ให้เชื่อมโยงกับเรื่องมวลติดสปริง
การเคลื่อนที่ของมวลติดสปริงเชื่อมโยงกับ
กลศาสตร์การเคลื่อนที่ ฟิสิกส์ทุกเรื่องใน
บทเรียนมองให้เชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกัน
เปรียบเทียบการมองของอะไรบางอย่างถ้ามอง
ใกล้มากเกินไปอาจทำให้หลงทางหรือเข้าใจผิด
ได้ ให้ถอยออกมามองในระยะที่เหมาะสมแล้วคุณ
จะสามารถเห็นรายละเอียดได้ทั้งหมด
หลักการทำความเข้าใจไม่ใช่จำ
1.จงลืมการท่องจำสูตรไปทั้ง
หมดสูตรลัดของฟิสิกส์ก็คือความเข้าใจ
การท่องจำจะทำให้เราไม่สามารถคิดค้นอะไร
ใหม่ๆออกมาได้เพราะ
มัวแต่กังวลเรื่องหลักการเก่าๆที่จำได้ทำให้ไม่
มีอิสระในการคิด นอกจากนั้นสูตรทางฟิสิกส์มี
เป็นล้านๆสูตรคงจะจำไม่ไหว
2.สมการที่สำคัญซึ่งเป็น
หลักของฟิสิกส์มีที่มาเหมือนกับ
ประวัติศาสตร์ของฟิสิกส์นั่นคือกลศาสตร์ของนิวตัน
เพราะว่าจากหลักการนี้ทำให้
นักฟิสิกส์ยุคต่อมาต่อยอดความคิดมาเรื่อยๆดัง
นั้นในการเรียนควรเชื่อมโยงให้ได้กับหลักการนี้
แม้ทางแม่เหล็กไฟฟ้าก็สามารถเช่มโยงได้เช่น
จากกฏแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตันสามารถ
เชื่อมโยงกับกฏของคูลอมบ์
3.จงเข้าใจความ
หมายพื้นฐานของตัวแปรที่สำคัญใน
ธรรมชาติก่อน เช่น แรงต่างๆ งาน พลังงาน
โมเมนตัม และสิ่งที่คุณคิดว่าจำเป็น(จำเป็นเท่านั้น
มิแน้นคุณจะกลับไปสู่การจำอีก)
4.จากสมการทางคณิตศาสตร์มองให้เห็นความ
หมายทางฟิสิกส์(ต้อง
อาศัยประสบการณ์การวิเคราะห์)ไม่ใช่พิสูจน์ได้
อะไรตรงตามเป้าหมายที่ต้องการก็จบแค่นั้น
เช่นไอสน์ไตน์มองเห็นว่าสมการของเขาทำนาย
ความประหลาดของจักรวาลนี้อย่างไร
ไฮเซนเบอร์กบอกว่าเราไม่สามารถ
บอกอะไรเกียวกับอนุภาคได้อย่างแน่นอนถูก
ต้องบอกได้เพียงความน่าจะเป็นเท่านั้น
5.มองวิชาฟิสิกส์โดยรวมให้
เหมือนรูปภาพแบบจุด(ที่ครูมักให้
เด็กอนุบาลทำเล่นเพื่อฝึกสมอง)ซึ่งเราจะ
มองเห็นภาพรวมได้เราต้องเชื่อมจุดเหล่านั้น
อย่างถูกต้องเสียก่อน
การทบทวนเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง(
ทำแบบฝึกหัดหรือถ้ามีความสามารถ
อาจตั้งโจทย์ทำเองหรือสังเกตจากธรรมชาติแล้ว
ตั้งเป็นปัญหาแล้วแก้ด้วยตัวเอง)
การทำแบบฝึกหัดเป็นการฝึกฝนโดยต้องเข้า
ใจปัญหาอย่างแท้จริงจึงแก้ได้ถูกต้อง
จุดประสงค์เพื่อเข้าใจไม่ใช่เดาข้อสอบที่จะออก
หรือจำวิธีการเพื่อว่าเจอโจทย์แนวเดียวกันจะได้
ใช้วิธีนี้นั่นเป็นการเรียนแค่พอผ่านหรือขอไปที่
การเลือกโจทย์ที่ทำควรดูด้วยว่าข้อนี้ทำให้
เรารู้อะไรบ้างไม่ใช่ว่าโจทย์ข้อนี้จะ
หลอกอะไรเรา
ที่สำคัญถ้าคุณเข้าใจหลักการแล้วคนที่ใช้
หลักการจำจะเทียบอะไรกับคุณไม่ได้เลย(ถ้าคุณ
เข้าใจจริงๆไม่ได้หลอกตัวเอง)
"มันอาจจะยากในช่วงแรกแต่เชื่อผมเถอะว่ามัน
เป็นทางเดียวที่จะนำคุณไปสู่ความสำเร็จ"
นี่เป็นหลักการคร่าวๆที่ผมพอจะนึกออกซึ่งอาจ
จะมีมากกว่านี้
หวังว่าคงเป็นประโยชน์สำหรับน้องๆหรือ
ใครที่กำลังหลงทางกับการเรียนฟิสิกส์อยู่

เพิ่มความแรงสัญญาณ Wireless คอมพิวเตอร์ของคุณ

วิธีง่ายง่าย ในการเพิ่มความแรงสัญญาณ Wireless คอมพิวเตอร์ของคุณ

1. สำหรับ Computer แบบ Notebook สายอากาศจะอยู่ที่ฝาหรือจอ ดังนั้นการหมุนเครื่อง หรือเปลี่ยนองศาของจอจะทำให้สัณญาน Wireless แรงขึ้นหรือลดลงได้ โดยหลักการแล้วสายอากาศรับส่งต้องขนานกัน ( พึงระลึกไว้ว่าสัณญานที่แรงขึ้นจะทำให้คุณท่องเน็ตได้เร็วขึ้นเช่นกัน )
2. ขจัดสิ่งกีดขวางระหว่าง Computer ของคุณกับตัวแพร่สัณญาน Wireless ( Access Point )เพราะที่ความถี่วิทยุ 2.4GHz จะแพร่คลื่นแบบ Line by Sight ( ในระดับสายตา ) หรือเป็นเส้นตรงไม่เลี้ยวไม่อ้อมสิ่งกีดขวาง แต่จะสะท้อนไปมากับสิ่งกีดขวางเช่นกำแพง ซึ่งไม่เป็นผลดีเพราะคลื่นจะหักล้างกันเอง
3. เปลี่ยนไปใช้ USB Wireless Adapter ที่มีคุณภาพซึ่งย่อมจะดีกว่า Wireless Card ที่ติดเครื่องมาแน่นอน ซึ่งคุณสามารถใช้สาย USB ที่อาจแถมมาเป็นอุปกรณ์เสริมให้คุณสามารถติดตั้งตัว USB Wireless Adapter บริเวณที่สัณญานดีกว่าที่คอมของคุณตั้งอยู่ เช่นบริเวนหน้าต่าง หรือระเบียงหอพักหากกลัวความชื้นหรือฝนจะทำให้ตัว USB เสียหายให้ห่อหุ้มด้วยวัสดุที่ไม่นำไฟฟ้า เช่นถุงใสหรือกล่องพลาสติก
4. หลีกเลี่ยงเวลาที่คิดว่ามีคนเล่นเน็ตมาก เพราะความเร็วของเน็ตสวนทางกับจำนวนผู้ใช้งาน เนื่องจากตัว Access Point จะตอบสนองการสื่อสารกับเครื่องของคุณได้ช้าลง
5. คลิ้กขวาที่ไอคอน Wireless บริเวณมุมขวาล่างของจอ คลิ้กที่ Open Network Connections คลิ้กขวาที่ Wireless Network Connection คลิ้ก Properties คลิ้ก Configure คลิ้ก Advanced คลิ้ก Power Save Mode เปลี่ยนที่ Value ให้เป็น Off คลิ้ก OK

อันนี้ผมลอกมาจากหลายๆเวปมารวมกันครับ

10 วิธี เพิ่มความเร็วให้แลนไร้สาย (wireless LAN)

สำหรับผู้ใช้แลนไร้สายซึ่งวินโดวส์แจ้งว่ามีระดับสัญญาณอ่อน ท่านจะเสียความเร็วและความเชื่อถือได้ (reliability)ในการสื่อสารข้อมูลไป ทั้งพื้นที่บางส่วนอาจไม่สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายได้ ผมขอนำเกร็ดความรู้ในการเพิ่มสัญญาณมาฝากเพื่อเพิ่มสมรรถนะ (performance) ของแลนไร้สาย ดังนี้

1. ติดตั้ง AP (Access Point) ไว้ที่ใจกลางอาณาบริเวณซึ่งท่านใช้งาน โดยมองทั้ง 3 มิติ เช่น บ้านมี 2 ชั้น ก็ควรติดตั้งให้ลอยสูงจากพื้นและอยู่ตรงกลางของพื้นราบ เช่น บันได เป็นต้น ไม่ควรติดตั้งชิดผนัง หรือใกล้สิ่งกีดขวาง เช่น ตู้เหล็กเก็บแฟ้ม เป็นต้น

2. เลือกเสาอากาศของ AP ให้เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น เสามาตรฐาน(Standard antenna) ติดตั้งไว้ที่ใจกลางอาณาบริเวณซึ่งท่านใช้งาน ถ้าติดตั้งที่ผนังซึ่งอีกด้านไม่ใช่อาณาบริเวณชองท่าน ควรใช้ Hi-gain antenna

3. ปรับกำลังส่งของเสาอากาศ (Antenna transmit power) ให้มากขึ้น

4. ใช้ AP จำนวนมากกว่าเดิมและปรับให้ใช้เป็นเครื่องทวนสัญญาณ (repeater) ติดตั้งไว้กลางระยะทาง

5. แลนไร้สายใช้วิธีสลับกันรับ/ส่ง กล่าวคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่งสัญญาณวิทยุมา AP จะเป็นผู้รับสัญญาณเท่านั้น จนกระทั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่งเสร็จ AP จะส่งสัญญาณวิทยุไปบ้างซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์จะเป็นผู้รับสัญญาณเท่านั้น การที่สัญญาณอ่อนจึงต้องพิจารณาปรับปรุงการ์ดแลนไร้สาย (wireless network adapter) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย โดยอาจเลือกเชื่อมต่อการ์ดใหม่ด้วย USB แต่กรณีคอมพิวเตอร์วางตัก(laptop) ยี่ห้อดังๆ สินค้า แบรนด์เนม ที่ใช้งานไม่นาน (ไม่เกิน 1 ปี) จะมีการ์ดแลนไร้สาย (wireless network adapter) คุณภาพดีอยู่แล้ว

6. เปลี่ยน wireless channel ที่ AP โดยทั่วไปควรเลือกใช้ช่อง (channel) 1, 6 และ 11 เพราะสัญญาณจะไม่กวนกัน ดูว่าช่องไหนให้สัญญาณดีกว่า ซึ่งเราต้องดูว่า AP เพื่อนบ้านเขาใช้ช่องไหนอยู่ หลีกเลียงอย่าใช้ซ้ำกันครับ หลักการคล้ายกับการฟังวิทยุเลือกช่องที่ชัดเจนครับ มีข้อควรระวัง ห้ามเลือกช่อง12,13 และ 14 เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์อาจไม่รองรับมาตรฐานญี่ปุ่น แล้วท่านจะต้องต่อสายแลนไปคอนฟิกช่องใหม่ (ใช้แลนไร้สายไม่ได้)

7. ไม่ใช้อุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์ไร้สาย ที่ใช้สัญญาณวิทยุที่มีความถี่ใกล้เคียงกับแลนไร้สาย เช่น 802.11a ใช้ความถี่ 5.8 GHz, 802.11b ใช้ความถี่ 2.4 GHz หรือ 802.11g ใช้ความถี่ 2.4 GHz เป็นต้น

8. ปรับปรุง firmware ของ AP และไดร์เวอร์ (driver) ของการ์ดแลนไร้สายที่ติดตั้งลงบนวินโดวส์ เช่น ผมได้ปรับปรุง firmware ของ D-Link 2640T เป็น Current Firmware Version : V3.02B01T01.EU-A.20080725

9. ควรเลือกใช้อุปกรณ์เครือข่ายยี่ห้อเดียวกัน จะส่งเสริมกัน เพราะแต่ละบริษัทมีเทคโนโลยีต่างกัน

10. เลือกใช้ 802.11g เทคโนโลยีใหม่ เร็วกว่า ที่มี backward-compatible กับ 802.11b

Search for content in this blog.