วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พระราชวังไดนอย นครเว้

พระราชวังไดนอย นครเว้

image.png
เว้ (Hue)เป็นเมืองเอกของจังหวัดถัวเทียน-เว้ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และเคยเป็นเมืองหลวง
ในสมัยราชวงศ์เหงียนช่วงปี พ.ศ. 2345-2488 ทางฝั่งเหนือของแม่น้ำหอมเป็นที่ตั้งของพระราชวังเมืองเว้
หรือพระราชวังไดนอย ซึ่งเป็นศูนย์กลางของย่านประวัติศาสตร์ โบราณสถานและวัดสำคัญ และได้รับการขึ้น
ทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปีพ.ศ.2536

ราชวงศ์เหงียนเป็นราชวงศ์สุดท้ายในประเทศเวียดนามที่ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์
มีกษัตริย์ทั้งสิ้น 13 พระองค์

ในช่วงพ.ศ.2348 กษัตริย์ยาลองซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เหงียน ได้สถาปนาเมืองเว้เป็นราชธานี
และสร้าง "พระราชวังไดนอย"(Dai Noi ) ขึ้นอย่างใหญ่โตบนเนื้อที่ 52 ตารางกิโลเมตร ริมฝั่งแม่น้ำหอม
โดยยึดเอาแบบอย่างและคติความเชื่อมาจาก "พระราชวังกู้กง"หรือ "พระราชวังต้องห้าม" ที่กรุงปักกิ่ง

ส่วนเหตุผลที่เรียกว่า "พระราชวังต้องห้าม" นั้น เป็นเพราะชาวจีนถือคติในการสร้างวังว่า จักรพรรดิเปรียบ
เสมือนบุตรแห่งสวรรค์ ดังนั้นวังของบุตรแห่งสวรรค์จึงต้องเป็นที่ต้องห้ามสำหรับคนธรรมดาสามัญไม่สามารถ
ล่วงล้ำเข้าไปได้ และผู้ที่เข้ามาทำงานถวายตัวในพระราชวังก็ไม่สามารถออกไปนอกอาณาเขตนครต้องห้าม
ได้อีกเลยตลอดชีวิต

ซึ่งจากการยึดแบบอย่างจากจีนทำให้หลายคนกล่าวว่าพระราชวังไดนอยเหมือนกับพระราชวังกู้กงทุก
ประการ เพียงแต่ย่อขนาดให้เล็กลงเท่านั้นเอง ดังนั้นพระราชวังไดนอยจึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "พระราชวัง
ต้องห้าม" แห่งเมืองเวียดนาม

พระราชวังมีกำแพง 2 ชั้น โดยกำแพงชั้นนอกยาวถึง 9,950 เมตร เมื่อผ่านกำแพงชั้นนอกเข้าไปแล้
จะเห็นปืนใหญ่ 4 กระบอก ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยกษัตริย์ยาลองเช่นกัน โดยเชื่อว่าปืนใหญ่เหล่านี้เป็นปืนของ
เทพเจ้าสร้างขึ้นเพื่อแสดงแสนยานุภาพของราชวงศ์เหงียน และปืนใหญ่ทั้ง 4 กระบอก มีความหมายถึง
ฤดูกาลทั้ง 4 นั่นเอง

ส่วนอีกฝั่งหนึ่งมีปืนใหญ่อยู่เช่นเดียวกัน แต่มี 5 กระบอก หมายถึง ธาตุทั้ง 5 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และ
ทอง ซึ่งธาตุทั้ง 5 นั้น เชื่อว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์เราในการดำรงชีวิตอยู่บนโลก และตั้งแต่สร้างปืน
ใหญ่ทั้ง 9 กระบอกมา ยังไม่เคยได้ใช้งานเลยแม้แต่ครั้งเดียว ได้แต่เพียงตั้งโชว์แสดงแสนยานุภาพไว้เท่านั้น

กำแพงชั้นที่สอง ยาวประมาณ 2,450 เมตร มีสะพานหินทอดไปยังประตูทางเข้าใหญ่ของพระราชวัง

ด้านบนประตูมีตัวหนังสือเขียนไว้ว่า "โงมน" (Ngo Mon) แปลว่า ประตูใหญ่ มีคนกล่างว่า แต่เดิมตอนสร้าง
ใหม่ๆ ตัวหนังสือนี้เป็นทองคำแท้ แต่เมื่อฝรั่งเศสเข้ามาปกครองจึงถูกถอดเอาทองคำออกแล้วแทนด้วยทอง
ทิพย์แทน


ประตูโงมน ศิลปะแบบจีนที่สวยงาม เป็นทางผ่านเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน มี 3 ชั้น 5 ช่อง ประตูเข้าออก
แบ่งเป็น ช่องนอกสุดด้านซ้ายและขวาคือทางเข้าของทหาร 2 ช่อง
ถัดเข้ามาทางซ้ายและขวาสำหรับราชวงศ์และขุนนาง ส่วนประตูช่องกลางเป็นทางเข้าออกสำหรับองค์กษัตริย์เท่านั้น ซึ่งก็แน่นอนนักท่องเที่ยว ต้องเดินเข้าประตูด้านริมนอกสุด


ชั้นบนของประตูโงมนนี้เป็นที่สำหรับองค์กษัตริย์ใช้ต้อนรับราชอาคันตุกะ กษัตริย์ทุกพระองค์ในราชวงศ์เหงียนจะต้อนรับ
ราชอาคันตุกะที่นี่ และบนชั้นที่ 2 นี้ก็เป็นที่สำหรับนักเรียนจอหงวนในสมัยนั้น (หรือเทียบเท่าปริญญาเอกในปัจจุบัน)
รับปริญญาจากพระหัตถ์ขององค์กษัตริย์ อีกทั้งยังเป็นที่จัดงานพิธีต่างๆของวัง ซึ่งถือเป็นบริเวณที่มีความสำคัญมาก
ในสมัยนั้น


ส่วนชั้นที่ 3 เป็นที่สำหรับพระมเหสีมาดูดาว หรือชมจันทร์ แต่ปัจจุบันเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้เพียง
2 ชั้นแรกเท่านั้น
จากประตูโงมน เดินข้ามสะพานหินหยก ตรงไปยัง "ตำหนักไทฮวา"


ตำหนักไทฮวาแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.2348 พร้อมกับพระราชวัง แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2375 ลักษณะเป็นท้อง
พระโรงขนาดใหญ่สวยงามมาก เป็นตำหนักที่กษัตริย์จะเสด็จประทับเมื่อมีการเข้าเฝ้าของราชวงศ์หรือขุนนาง
ในสมัยนั้นเวลาเข้าเฝ้าจะทำการแต่ตอนกลางคืนก่อนเช้าตรู่หรือก่อนพระอาทิตย์ขึ้น คือเวลาประมาณ ตี2- ตี4
เท่านั้น อีกทั้ง กษัตริย์ทั้ง 13 พระองค์ของราชวงศ์เหวียงจะทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่ตำหนักไทฮวา
แห่งนี้อีกด้วย



ตำหนักไทฮวายังมีความสำคัญมากทางประวัติศาสตร์ชาติเวียดนาม คือ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2488
ตำหนักนี้เคยเป็นที่ยืนประกาศสละราชสมบัติหรือสละบัลลังก์ขององค์กษัตริย์บ๋าวด่าย ซึ่งเป็นองค์
กษัตริย์สมัยที่ 13 หรือกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เหวียง ซึ่งเป็นลูกชายของกษัตริย์องค์ที่ 12
คือ กษัตริย์ขายดิก และวันนั้นก็ถือเป็นวันสิ้นสุดการปกครองระบอบกษัตริย์ เปลี่ยนมาปกครองแบบ
ระบบประธานาธิบดีจนปัจจุบัน

เมื่อเข้าไปในตำหนัก กล่าวว่า สมัยที่ราชวงศ์เหงียนสร้างตำหนักนี้ใหม่ๆ ทุกอย่างจะเป็นทองคำแท้
ทั้งหมด แต่เมื่อฝรั่งเศสเข้ามาปกครองเวียดนามในปี พ.ศ.2402 ทุกอย่างที่เป็นทองคำฝรั่งเศสจะถอด
ไปหมดแล้วแทนด้วยทองชุบ

image.png


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Search for content in this blog.