วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วิธีเรียนฟิสิกส์ให้เข้าใจ

หลักการนี้สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนักฟิสิกส์ที่เก่ง
ซึ่งนักฟิสิกส์ที่เก่งส่วนใหญ่ก็ทำเช่นนี้
สำหรับการเรียนเนื้อหาทฤษฏี
สิ่งที่ควรรู้และต้องเข้าใจ
1.คณิตศาสตร์ที่จำเป็นต้องใช้
แต่คณิตศาสตร์บางเรื่องที่คิดว่าไม่ได้ใชก็อาจ
ต้องใช้ในบางครั้งดังนั้นควรต้องรู้คร่าวๆไว้บ้าง(
รู้ให้มากที่สุด)
ควรรู้ว่าคณิตศาสตร์แต่ละเรื่องเหมาะที่จะ
แก้ปัญหาแบบใดและใช้
คณิตศาสตร์อย่างรอบคอบ ไม่ให้
ผิดหลักทางคณิตศาสตร์
2.ฝึกฝนตัวเองให้เป็น
คนช่างคิดช่างสังเกตมองภาพทางฟิสิกส์ให้
ออกก่อนแล้วจึงเลือกใช้
คณิตศาสตร์ที่เหมาะสมเพื่อแก้ปํญหาและให้
มองภาพรวมๆอย่ามองเพียงจุดใดจุดหนึ่ง
เช่นการเรียนเรื่องการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิกคิด
ให้เชื่อมโยงกับเรื่องมวลติดสปริง
การเคลื่อนที่ของมวลติดสปริงเชื่อมโยงกับ
กลศาสตร์การเคลื่อนที่ ฟิสิกส์ทุกเรื่องใน
บทเรียนมองให้เชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกัน
เปรียบเทียบการมองของอะไรบางอย่างถ้ามอง
ใกล้มากเกินไปอาจทำให้หลงทางหรือเข้าใจผิด
ได้ ให้ถอยออกมามองในระยะที่เหมาะสมแล้วคุณ
จะสามารถเห็นรายละเอียดได้ทั้งหมด
หลักการทำความเข้าใจไม่ใช่จำ
1.จงลืมการท่องจำสูตรไปทั้ง
หมดสูตรลัดของฟิสิกส์ก็คือความเข้าใจ
การท่องจำจะทำให้เราไม่สามารถคิดค้นอะไร
ใหม่ๆออกมาได้เพราะ
มัวแต่กังวลเรื่องหลักการเก่าๆที่จำได้ทำให้ไม่
มีอิสระในการคิด นอกจากนั้นสูตรทางฟิสิกส์มี
เป็นล้านๆสูตรคงจะจำไม่ไหว
2.สมการที่สำคัญซึ่งเป็น
หลักของฟิสิกส์มีที่มาเหมือนกับ
ประวัติศาสตร์ของฟิสิกส์นั่นคือกลศาสตร์ของนิวตัน
เพราะว่าจากหลักการนี้ทำให้
นักฟิสิกส์ยุคต่อมาต่อยอดความคิดมาเรื่อยๆดัง
นั้นในการเรียนควรเชื่อมโยงให้ได้กับหลักการนี้
แม้ทางแม่เหล็กไฟฟ้าก็สามารถเช่มโยงได้เช่น
จากกฏแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตันสามารถ
เชื่อมโยงกับกฏของคูลอมบ์
3.จงเข้าใจความ
หมายพื้นฐานของตัวแปรที่สำคัญใน
ธรรมชาติก่อน เช่น แรงต่างๆ งาน พลังงาน
โมเมนตัม และสิ่งที่คุณคิดว่าจำเป็น(จำเป็นเท่านั้น
มิแน้นคุณจะกลับไปสู่การจำอีก)
4.จากสมการทางคณิตศาสตร์มองให้เห็นความ
หมายทางฟิสิกส์(ต้อง
อาศัยประสบการณ์การวิเคราะห์)ไม่ใช่พิสูจน์ได้
อะไรตรงตามเป้าหมายที่ต้องการก็จบแค่นั้น
เช่นไอสน์ไตน์มองเห็นว่าสมการของเขาทำนาย
ความประหลาดของจักรวาลนี้อย่างไร
ไฮเซนเบอร์กบอกว่าเราไม่สามารถ
บอกอะไรเกียวกับอนุภาคได้อย่างแน่นอนถูก
ต้องบอกได้เพียงความน่าจะเป็นเท่านั้น
5.มองวิชาฟิสิกส์โดยรวมให้
เหมือนรูปภาพแบบจุด(ที่ครูมักให้
เด็กอนุบาลทำเล่นเพื่อฝึกสมอง)ซึ่งเราจะ
มองเห็นภาพรวมได้เราต้องเชื่อมจุดเหล่านั้น
อย่างถูกต้องเสียก่อน
การทบทวนเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง(
ทำแบบฝึกหัดหรือถ้ามีความสามารถ
อาจตั้งโจทย์ทำเองหรือสังเกตจากธรรมชาติแล้ว
ตั้งเป็นปัญหาแล้วแก้ด้วยตัวเอง)
การทำแบบฝึกหัดเป็นการฝึกฝนโดยต้องเข้า
ใจปัญหาอย่างแท้จริงจึงแก้ได้ถูกต้อง
จุดประสงค์เพื่อเข้าใจไม่ใช่เดาข้อสอบที่จะออก
หรือจำวิธีการเพื่อว่าเจอโจทย์แนวเดียวกันจะได้
ใช้วิธีนี้นั่นเป็นการเรียนแค่พอผ่านหรือขอไปที่
การเลือกโจทย์ที่ทำควรดูด้วยว่าข้อนี้ทำให้
เรารู้อะไรบ้างไม่ใช่ว่าโจทย์ข้อนี้จะ
หลอกอะไรเรา
ที่สำคัญถ้าคุณเข้าใจหลักการแล้วคนที่ใช้
หลักการจำจะเทียบอะไรกับคุณไม่ได้เลย(ถ้าคุณ
เข้าใจจริงๆไม่ได้หลอกตัวเอง)
"มันอาจจะยากในช่วงแรกแต่เชื่อผมเถอะว่ามัน
เป็นทางเดียวที่จะนำคุณไปสู่ความสำเร็จ"
นี่เป็นหลักการคร่าวๆที่ผมพอจะนึกออกซึ่งอาจ
จะมีมากกว่านี้
หวังว่าคงเป็นประโยชน์สำหรับน้องๆหรือ
ใครที่กำลังหลงทางกับการเรียนฟิสิกส์อยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Search for content in this blog.